ระบบTCAS ปีการศึกษา61
cr:https://seniorswu.in.th/2017/tcas-admission/
💚💙video tcas💛💜
cr: https://www.youtube.com/watch?v=eOKmwfGzkH4
cr: https://www.youtube.com/watch?v=phBTetURvJs
2. ไหว้พระ ทำสมาธิ
3. เคี้ยวหมากฝรั่ง ลูกอม
4. เช็คอุปกรณ์เครื่องเขียน
5. ทบทวนชอตโน๊ต
6. จดสูตร / เตรียมคำตอบ
7. เช็คกระดาษคำถาม / คำตอบ / ข้อสอบ
8. ตรวจสอบชื่อ/ เลขประจำตัว / ชั้น / เลขที่ / รหัสวิชา
9. วางแผนเวลา
ชื่อระบบใหม่ที่แท้จริง
สำหรับชื่อระบบใหม่ที่แท้จริง คือ TCAS โดยย่อมาจาก
Thai University Central Admission System ไม่ใช่เอ็นทรานซ์ 4.0
เหมือนที่มีคนเคยเรียกกันนะ โดยจะเริ่มใช้ระบบใหม่นี้ตั้งแต่ปีการศึกษา
2561 เป็นต้นไปโดยน้องๆ สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net ตั้งแต่ 2 มิถุนายนเป็นต้นไป
ทำไมต้องปรับ?
เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมา
กว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องผ่านการสอบหลายครั้ง
ทั้งการสอบข้อสอบกลางอย่าง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ และ O-Net
ที่จัดตลอดทั้งปี อีกทั้งบางมหาวิทยาลัยก็มีการจัดสอบตรงของตนเอง
และมีการรับที่หลายรอบเกินไป เกิดการวิ่งสอบและกันที่เกิดขึ้น
รวมทั้งเงินค่าสมัครและค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่เสียซ้ำซ้อนและมากเกินไปนั่นเอง..
อีกทั้งการสอบและการรับนิสิตนักศึกษาใหม่ที่มีตลอดปี ทำให้การเรียน ม.6
ของแต่ละคนเรียนได้อย่างไม่เต็มที่ คุณครูก็ต้องเร่งสอนเพื่อให้ทันการสอบ
ด้วยความวุ่นวายเหล่านี้ เลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งใหม่กับน้องๆ ปี 2561 นั่นเอง..
โดยยึดหลักการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา ไม่เกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบ ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง เด็กมีสิทธิ์ที่เลือกเรียนตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเด็กได้เช่นกัน
ปรับอะไรบ้าง?
การสอบทั่วไป
สำหรับบรรดาการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังน้องๆ จบชั้น
ม.6 ทั้งหมด โดยจัดสอบในเดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ทั้งหมด 6 สัปดาห์
โดยมีกำหนดการดังนี้ :
สัปดาห์ที่ | วันสอบ | รายการสอบ | จัดสอบโดย |
---|---|---|---|
1 | 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561 | GAT / PAT ปีการศึกษา 2561 | สทศ |
2 | 3 – 4 มีนาคม 2561 | O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560 | สทศ |
4 | 17 – 18 มีนาคม 2561 | 9 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561 | สทศ |
3, 5, 6, 7 | 24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561 | กสพท. และ วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยต่างๆ หรือองค์กรที่จัดสอบ |
และพิเศษ! ทาง ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) ได้มีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศอีกด้วย โดยจะจัดสอบครั้งแรกในการสอบ GAT-PAT ปีการศึกษา 2561.. อันยองฮาเซโย
รายละเอียดการคัดเลือกทั้ง 5 รอบของ TCAS!
แบ่งเป็น 5 รอบด้วยกัน คือ
-
รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก :
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
- สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก :
-
รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
- ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
- สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
-
รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
- ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
- สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
- ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
-
รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
- ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
- สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี
- ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
-
รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
- สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
จำนวนการรับในแต่ละรอบ ปีการศึกษา 2561 (โดยประมาณ)
เป็นข้อมูลจำนวนประมาณการจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 40 แห่ง โดยรับทั้งหมด 278,644 คน แบ่งออกทั้งหมด 5 รอบ ดังรายละเอียดนี้
รอบที่ | ประเภทการรับ | จำนวน |
---|---|---|
รอบที่ 1 | ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน | 72,613 คน |
รอบที่ 2 | รับแบบโควต้า | 85,436 คน |
รอบที่ 3 | การรับตรงร่วมกัน | 59,167 คน |
รอบที่ 4 | รับแบบแอดมิชชั่น | 35,836 คน |
รอบที่ 5 | การรับตรงอิสระ | 26,042 คน |
แล้วเด็กซิ่วล่ะ ?
* เด็กซิ่ว หมายถึง น้องๆ ที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่
ถือเป็นคำถามของเด็กซิ่วหลายคนว่า.. “แล้วเราล่ะ จะสมัครรอบไหนได้บ้าง”
น้องๆ เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร
โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้
(หรือแบบเข้าใจง่ายๆ คือ อาจมีบางสาขาที่ไม่เปิดรับนั่นเอง)
ทุกรอบมี “เคลียริงเฮาส์” (Clearing House)
เนื่องจากปัญหาในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่มีปัญหาวิ่งสอบ แล้วกั๊กที่นั่งเรียนทำให้คนอื่นเสียสิทธิ์ไป ในระบบการคัดเลือกใหม่
ดังนั้นในระบบการคัดเลือกใหม่ ทาง ทปอ.
จึงขอความร่วมมือให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ในทุกรอบ
เพื่อให้น้องๆ กดยืนยันสิทธิ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ หลังสอบรอบนั้นๆ
เสร็จ และเมื่อกดยืนยันในรอบนั้นๆ แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบใหม่ในรอบอื่นๆ
ได้อีกนั่นเอง
รอบที่ | ประเภทการรับ | วันที่ต้องยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ |
---|---|---|
รอบที่ 1 | ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน | ครั้งที่ 1 : 15-19 ธันวาคม 2560 |
ครั้งที่ 2 : 19-22 มีนาคม 2561 | ||
รอบที่ 2 | รับแบบโควต้า | 3-6 พฤษภาคม 2561 |
รอบที่ 3 | การรับตรงร่วมกัน | 26-28 พฤษภาคม 2561 |
รอบที่ 4 | รับแบบแอดมิชชั่น | ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์ |
รอบที่ 5 | การรับตรงอิสระ | ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์ |
แล้วถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล่ะ ?
สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้าร่วมการคัดเลือกในการสมัครรอบที่ 1-3
และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบแอดมิชชั่น เพราะมหาวิทยาลัยทั้ง 2
กลุ่มนั้นเปิดภาคเรียนแล้วนั่นเอง!
ถ้าจบจากต่างประเทศ ?
สำหรับน้องๆ ที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ
จบการศึกษาจากต่างประเทศ
ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา
สามารถสมัครเรียนต่อตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้
สำหรับน้องๆ หลักสูตรนานาชาติหรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครสอบเข้าได้ 3 รูปแบบ คือ
- ในรอบที่ 1 แบบที่ไม่มีการสอบเพิ่มเติม : อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ได้ โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 4 ได้ แต่ต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
💚💙video tcas💛💜
💓 แนวข้อสอบปี 59 💓
🌟 คลังความรู้ 🌟
7 วิธี สร้างสมาธิในการอ่านหนังสือ
หลาย ๆ คนคงประสบปัญหาที่ว่าไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ ทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ใช้เวลาในการอ่านมากแต่ไม่มีประสิทธิภาพ อ่านจบก็จำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ใช่ไหมละครับ ปัญหาเหล่านั้นจะแก้อย่างไร วันนี้ Top-A tutor มีทางออกมาให้ครับ กับ 7 วิธีสร้างสมาธิในการอ่านหนังสือ
1. อ่านในที่ที่เงียบ สงบ
สถานที่อ่านเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสมาธิในการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดีเลยละครับ การเลือกอ่านในที่ที่มีคนเดินผ่านไปผ่านมาเยอะ เสียงดังนั้น คงไม่ทำให้น้อง ๆ เกิดสมาธิในการอ่านหนังสือได้อย่างแน่นอนใช่ไหมละครับ เพราะเมื่อกำลังจะมีสมาธิก็ถูกดึงความสนใจไปโดยเสียงของผู้คนนั่นเอง ดังนั้นถ้าอยากจะมีสมาธิในการอ่านนั้นก็ควรจะหาสถานที่อ่านที่เงียบ ๆ เช่น ห้องนอนของตัวเอง ห้องสมุด เป็นต้น นั่นเอง
2. ต้องมีความมุ่งมั่น
หลาย ๆ ครั้งสาเหตุของการไม่มีสมาธินั้นเกิดจากตัวน้องเอง ที่ไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีความตั้งใจในการอ่าน ดังนั้นน้อง ๆ ต้องสร้างความมุ่งมั่นในตัวเองขึ้นมาด้วยนะครับ ต้องมีเป้าหมายว่าเราจะต้องอ่านหนังสือบทนี้ให้จบภายในวันนี้ หรือภายในกี่วัน และทำให้ได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยละ
3. ถ้าจะอ่านกับเพื่อน เลือกอ่านกับเพื่อนที่มีสมาธิ
ถ้าหากว่าน้อง ๆ จำเป็นต้องถามเพื่อนเยอะในการอ่านเนื่องจากมีหัวข้อที่ไม่เข้าใจเยอะ ก็ควรเลือกอ่านกับเพื่อนที่ขยัน และมีสมาธิในการอ่านสูง เพราะเพื่อน ๆ ลักษณะนั้นจะไม่มีกวนน้อง หรือชวนน้องคุยในเวลาอ่านหนังสืออย่างแน่นอน ทำให้การอ่านของน้องมีประสิทธิภาพและยังได้ถามเพื่อนในประเด็นที่ไม่เข้าใจได้อีกด้วย
4. อย่าอ่านในที่ ๆ สบายเกินไป
จินตนาการถึงการนอนอ่านหนังสือบนเตียง และเปิดแอร์ดูนะครับ แค่คิดก็ง่วงแล้วใช่ไหมละครับ ดังนั้นการอ่านหนังสือในที่ และท่าทางที่สบายเกินไปลักษณะดังกล่าว จะทำให้น้องเกิดอาการง่วงได้ สมาธิในการอ่านของน้อง ย่อมไม่เกิดขึ้นหรอกครับ ดังนั้นเลือกสถานที่ และท่าทางที่เหมาะสมในการอ่านหนังสือกันนะครับ
5. เคลียร์งานอื่นให้เสร็จก่อนแล้วจึงเริ่มอ่าน
น้อง ๆ อาจมีงานอื่นเช่น การบ้าน งานกิจกรรมของโรงเรียน หรืองานส่วนตัวอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องทำในวันนั้น พี่แนะนำให้เคลียร์งานเหล่านั้นให้เสร็จก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มต้นอ่านหนังสือครับ เพราะถ้าหากยังเคลียร์งานเหล่านั้นไม่เสร็จแล้วมาอ่านหนังสือ ก็จะทำให้มีสมาธิไม่เต็มที่กับการอ่านหรอกครับ เนื่องจากยังกังวลเกี่ยวกับภาระงานเหล่านั้นอยู่นั่นเอง
6. พักสมองด้วย
การอ่านหนังสืออย่างหามรุ่งหามค่ำนั้น น้องอาจมีสมาธิในการอ่านได้ เพียงแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้นแหละครับ และเมื่ออ่านไปสักประมาณ 1-2 ชั่วโมงติดต่อกัน สมองจะเริ่มล้า และสมาธิในการอ่านก็จะลดลง ถ้าหากยังฝืนอ่านไปจนจบได้ เมื่อมาคิดย้อนกลับอาจไม่เข้าใจเนื้อหาส่วนหลัง ๆ เลยก็เป็นได้ จะเห็นได้ว่ากลายเป็นน้องจะพักก็ไม่ได้พัก จะอ่านก็ไม่มีประสิทธิภาพเสียเวลาเปล่าใช่ไหมละครับ ดังนั้นพี่แนะนำให้อ่านแล้วมีช่วงพักที่น้องจะได้ลุกออกจากหนังสือเดินไปที่อื่นบ้าง แล้วกลับมาอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ต่อไป ก็คงจะดีกว่านะครับ
7. อย่าอ่านไป ทำอย่างอื่นไป
หลาย ๆ คนที่รู้สึกว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องน่าเบื่อ แล้วอาจใช้วิธีอ่านไปดูซีรีย์หรือดูหนังไปด้วย อะไรลักษณะนี้ใช้ไหมละครับ การทำอย่างนั้นจะทำให้การอ่านหนังสือนั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่เสียเวลาอ่าน เพราะสมาธิของน้องจะไม่เพ่งมาที่การอ่านเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องแบ่งไปที่ ซีรีย์ที่ดู หรือหนังที่ดู ด้วย ส่งผลให้อ่านแล้วไม่ได้ผลดีหรอกครับ พี่แนะนำว่าถ้าหากว่าอยากดูซีรีย์หรือหนังเรื่องอะไรก็ดูให้จบก่อนเริ่มอ่านหนังสือ เพื่อที่จบแล้วจะได้มีสมาธิในการอ่านหนังสืออย่างเต็ม 100 % อย่างนั้นดีกว่าครับ
9 ข้อ "ต้องทำ" ก่อนเข้าห้องสอบ (เพิ่มคะแนนให้ดีเว่อร์)
1. เครื่องดื่มบำรุงสมองต่างๆ
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะ เครื่องดื่มจำพวกบำรุงสมองต่างๆ ใกล้สอบก็จำเป็นนะ ส่วนหนึ่งให้เรื่องกำลังใจ กินแล้ว รู้สึกดีกว่าไม่กิน ลองดื่มกันคืนก่อนสอบดูนะ น่าจะช่วยน้องๆได้เยอะ เพราะช่วยบำรุงสมองและที่สำคัญไม่ทำให้น้องๆ รู้สึกเพลียในวันสอบ และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ไม่หนักหัว อันนี้พี่เมษ์คอนเฟิร์มค่ะ
2. ไหว้พระ ทำสมาธิ
ก่อนเข้าห้องสอบ ลองสวดมนต์ ไหว้พระดูนะคะ ไม่ใช่ให้เชื่อเรื่องไสยศาสตร์อย่างเดียว แต่การสวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ คือการตั้งจิตของเราให้สงบ ตั้งสติก่อนเข้าห้องสอบ เป็นกุศโลบายสำหรับตั้งสมาธินั่นเองค่ะ จะได้ทำข้อสอบได้นิ่งขึ้นนั่นเอง
3. เคี้ยวหมากฝรั่ง ลูกอม
อันนี้ใช้ได้ทั้งช่วงอ่านหนังสือ ก่อนเข้าสอบ และในห้องสอบ (ถ้าคุณครูอนุญาตนะคะ บางที่ก็ไม่อนุญาต ข้ามข้อนี้ไปค่ะ) เพราะมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งดีต่อสมอง ช่วยให้กระตุ้นร่างกายมีความตื่นตัว สมองแล่น หัวไว และเกิดความกระฉับกระเฉงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้น้องๆ ทำอะไรได้ว่องไวขึ้นนั่นเองค่ะ
ส่วนลูกอมที่มีรสหวานนิดๆ เนี่ยแหละที่มีน้ำตาลให้คาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกายของน้องๆ แล้วก็จะเข้าไปกระตุ้นสมอง ทำให้น้องอารมณ์ดีและรู้สึกสดชื่น แต่ต้องกินแต่พอประมาณนะ ไม่งั้นจะอ้วนแถมส่งผลกระทบด้วยค่ะ
ยังไงก็ลองเลือกตัวช่วยที่น้องๆ ชอบติดกระเป๋าเข้าไปในห้องสอบด้วยนะคะ จะได้ทำข้อสอบได้อย่างสบายใจไงละคะ
4. เช็คอุปกรณ์เครื่องเขียน
นอกจากเตรียมตัว เตรียมความรู้แล้ว อุปกรณ์ยังเป็นเรื่องสำคัญ เช็คให้พร้อมนะคะ ทั้งปากกาน้ำเงิน ปากกาแดง ไอไลท์สิบเจ็ดล้านสี ปากกาสีต่างๆ ดินสอง 2B ยางลบ ลิควิดเปเปอร์ ไม่บรรทัด อุปกรณ์อื่นๆที่ต้องใช้ด้วย เช่นไม้โปรแทรกเตอร์ วงเวียน ฯลฯ เตรียมของส่วนตัวไปให้พร้อมค่ะ เพราะการหยิบยืมกันไปมา นอกจากจะเสียสมาธิแล้ว ยังเสี่ยงต่อข้อหาทุจริตการสอบด้วย
อ่อ อีกนิดนะคะ อย่าลืมบัตรประจำตัวเข้าห้องสอบ บัตรนักเรียน บัตรประชาชน อะไรแบบนี้ด้วย เดี๋ยวจะไม่มีสิทธิเข้าสอบนะคะ
5. ทบทวนชอตโน๊ต
ก่อนเช้าห้องสอบ ถ้ามีชอตโน๊ต หรือสูตรต่างๆ แนะนำให้อ่านทบทวนสักรอบ จดจำให้แม่น แล้วรีบเข้าห้องสอบค่ะ เพราะการทำแบบนี้ทำให้น้องๆมีความจำระยะสั้นเรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำไปใช้ในห้องสอบได้แบบชัวร์ ไม่ผิดพลาด
6. จดสูตร / เตรียมคำตอบ
พอเข้าห้องสอบแล้ว อย่างแรกก่อนเขียนชื่อ แนะนำให้จดสูตร จดช็อตโน้ตที่ทวนก่อนเช้ามาลงไปในกระดาษทดหรือหัวข้อสอบ (ถ้าห้ามขีดเขียน ก็เขียนเบาๆ ด้วยดินสอก่อนก็ได้ค่ะ) เพราะเวลาทำข้อสอบ ถ้าสติกระเจิง อย่างน้อยเราก็ยังมีสูตร มีความรู้เกร้ดเล็ก เกร็ดน้อยที่ยังพอเป็นตัวช่วยเราในยามคับขันได้นะคะ
แต่ถ้าเจอข้อสอบเขียน ให้รีบอ่านคำถามในข้อสอบ แล้วอาจจะเขียนประเด็นที่เราจะเขียนตอบเอาไว้คร่าวๆ ก่อน เสียเวลาเพียงนิดหน่อย แต่ช่วยให้เรามีลำดับในการเชียนพิชิตคะแนนได้ดี และไม่พลาด หลุดประเด็นไปด้วยค่ะ
7. เช็คกระดาษคำถาม / คำตอบ / ข้อสอบ
เอาละค่ะ หลังจากจดสูตร เตรียมคำตอบให้เรียบร้อย ก็ถึงเวลาตั้งสติ เช็คข้อสอบ กระดาษคำตอบให้ชัวร์ก่อนเริ่มลงมือทำ เพราะถ้าผิดพลาดไปละแย่เลย พี่เมษ์ว่าน้องๆ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์ผิดพลาดแบบทำข้อสอบไปแค่ครึ่งเดียว หรือ ทำไม่ครบ เพราะไม่ได้เช็คนี่แหละค่ะ เสียคะแนนไปฟรีๆ หรือมารู้ตัวอีกทีว่าทำไม่ครบตอนจะหมดเวลา ,,, ไม่อยากเจอแบบนี้ ต้องเช็คให้ครบถ้วนค่ะ
8. ตรวจสอบชื่อ/ เลขประจำตัว / ชั้น / เลขที่ / รหัสวิชา
นอกจากกระดาษคำตอบ ข้อสอบแล้ว เรายังต้องเชคชื่อ เลขประจำตัว เลขประจำตัวสอบ และรหัสวิชาต่างๆ ยิ่งเป็นหัวกระดาษคำตอบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการฝนมาให้ด้วยคอมพิวเตอร์ยิ่งต้องเช็คให้ชัวร์ ไม่งั้นคะแนนเราอาจหายไปหรือไปตกอยู่ที่คนอื่นแทนเราเลยก็ได้ค่ะ
แต่ถ้าต้องฝนรหัสเอง เขียนชื่อเอง เขียนรหัสประจำตัวเอง ก็ระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะข้อผิดพลาดจุดเล็กๆ แบบนี้ ส่งผลต่อเราโดยตรง ฝนผิด เขียนพลาดไปเครื่องอาจจะไม่ตรวจ คะแนนก็เสี่ยงต่อการหายวับไปเช่นกัน โดยเฉพาะถ้าเจอข้อสอบเขียน อย่าลืมเขียนชื่อและรหัสประจำตัว ชั้น เลขที่ให้ครบทุกหน้าทุกแผ่น ป้องกันการสูญหายนั่นเองค่ะ
อ่อ นอกจากนี้พี่เมษ์แนะนำให้น้องๆ กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง เช่นพวกตึกที่สอบ เวลาที่สอบ ห้องสอบ ข้อมูลพวกนี้ก็อย่ามองข้ามนะคะ กรอกให้ครบ สบายใจที่สุดค่ะ เพราะหากกระดาษคำตอบหล่นกลางทางแล้วมีคนเจอ จะได้นำไปส่งคืนให้ถูกไงคะ
9. วางแผนเวลา
สุดท้าย ก่อนลงมือทำข้อสอบ อย่าลืมคำนวณเวลาที่จะใช้ทำในแต่ละส่วนของข้อสอบให้ดี เพราะการวางแผนเวลาทำให้น้องๆ รู้ว่ามีลิมิตแค่ไหนกับแต่ละข้อ แต่ละส่วนของข้อสอบ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องทำไม่ทัน ทำไม่ครบ ต้องทิ้งดิ่ง เดาข้อสอบให้เสียคะแนนกันไปค่ะ
✨แหล่งอ้างอิง✨